พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกาศขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Breach) ที่มีประสิทธิภาพและสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย PDPA Thailand (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ได้ประกาศขึ้นในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 มีกำหนดบังคับใช้บางส่วนตั้งแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 และมีกำหนดบังคับใช้เต็มทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้มีการเลื่อนบังคับใช้ทั้งฉบับไปอีก 1 ปี เป็น วันที่ 1 มิถุนายน 2565
พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act) ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวและยังไม่เป็นที่รู้จักหรือคุ้นเคยสำหรับบางคน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล (Breach PDPA) มีผลกระทบต่อองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resources : HR) ซึ่งเป็นฝ่ายที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Data) ของพนักงานทั้งบริษัท ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ รายละเอียดติดต่อ ของพนักงาน ตั้งแต่พนักงานตำแหน่งทั่วไปจนถึงระดับบริหาร Resume หรือ CV ของผู้สมัครงานที่ยื่นเข้ามายังองค์กร รวมทั้งบันทึกประวัติการทำงานของผู้ที่ออกจากองค์กรไปแล้ว ไม่ว่าจากการย้ายงาน ลาออก หรือถูกไล่ออก มารู้จักข้อบังคับของ พ.ร.บ ฉบับนี้กัน
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีไหนบ้าง
- ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆ ให้ชัดเจน
- เก็บข้อมูลจากการทำสัญญากับเจ้าของข้อมูลนั้น
- จัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาวิจัยหรือการจัดทำสถิติ
- ป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
- เป็นการกระทำตามสัญญาระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย หรือสัญญา
โทษของ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act) ที่องค์กรต้องรู้ก่อนสายเกินแก้
องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อไม่ให้องค์กรพลาดกระทำการละเมิด พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act) เพราะการรับมือกับการฝึกอบรม PDPA (PDPA Training Thailand) ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมข้อมูลและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสถานที่จัดเก็บข้อมูลไม่รัดกุมและปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทุนทรัพย์ ฉะนั้นเราขอแนะนำให้จัดการระบบข้อมูลและปรึกษาผู้ให้บริการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data protection service) ที่มีความเชี่ยวชาญตั้งแต่วันนี้ เพราะมีบทลงโทษของ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act) รุนแรงหากไม่ปฏิบัติตาม ดังนี้
- โทษทางแพ่ง
- ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจริงให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิด และอาจจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อลงโทษเพิ่มเติมสูงสุดได้อีก 2 เท่าของค่าเสียหายจริง
- มีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด หรือ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
- โทษทางอาญา
- มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยมี โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- โทษทางปกครองของผู้ควบคุมข้อมูล
- การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย การไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่แจ้งผลกระทบจากการถอน ความยินยอม การไม่ดำเนินการตามสิทธิคัดค้านของเจ้าของข้อมูล มีโทษปรับตั้งแต่ 1 ล้านบาทจนถึงสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท
จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาต้นเหตุหลักๆ ของการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Data) จำนวนมากเกิดจากหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับองค์กร เร่งมือและเตรียมทุกสิ่งในองค์กรให้พร้อมด้วยการปรึกษาที่ปรึกษาด้าน PDPA (PDPA Compliance Service) จะช่วยให้องค์กรของคุณปฏิบัติตามข้อกำหนดพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้อย่างเคร่งครัด ช่วยให้องค์กรมีความน่าเชื่อถือในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล มีนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร เตรียมไว้ก่อนสายเกินแก้